หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ภาพกิจกรรม 5 ส


























กิจกรรม 5 ส. ในที่ทำงาน

กิจกรรม 5 ส. ในที่ทำงาน
หลังจากกล่าวถึงกิจกรรม 5 ส. ในที่พักอาศัย ซึ่งได้ยกตัวอย่าง ห้องนอน ห้องครัว ห้องน้ำ ซึ่งล้วนแต่ส่งผลต่อสุขภาพอนามัยของผู้พักอาศัยแล้ว ในที่นี้จะกล่าวถึงกิจกรรม 5 ส. ในที่ทำงาน ซึ่งเป็นอีกสถานที่หนึ่ง ที่เราต้องใช้ชีวิต คลุกคลีอยู่ตลอดทั้งวัน และหากที่ทำงานไม่สะอาด มีโอกาสสัมผัสกับกับเชื้อโรค รวมถึงได้รับอันตรายจากอุบัติเหตุได้เช่นกัน

แหล่งสะสมเชื้อโรคในที่ทำงาน
-                   โต๊ะทำงาน เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคอันดับต้นๆ สถานที่ที่เราอยู่ใกล้ชิดที่สุด แต่ใกล้ตัวแห่งนี้คือจุดผลิตเชื้อโรคแห่งหนึ่ง ซึ่งบนโต๊ะทำงานจะประกอบไปด้วยอุปกรณ์สำนักงานนานาชนิด ที่สะสมเชื้อโรคเอาไว้ ตัวพื้นโต๊ะที่บางครั้งก็อาจเก็บฝุ่น หรือคราบสกปรกจากอาหารและเครื่องดื่มซึ่งหากมือไปสัมผัสแล้วหยิบอาหารใส่ปากก็เป็นช่องทางที่อันตรายมากเช่นกัน
-                   โทรศัพท์ มีความชื้นจากเหงื่อและน้ำลาย เป็นปัจจัยสำคัญในการเจริญเติบโตของเชื้อโรค จึงควรหมั่นเช็ดทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์อยู่เสมอ
-                   เมาส์และคีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ เกิดจากเชื้อโรคที่มาจากมือและนิ้ว ซึ่งจะเห็นได้จากการที่เราเอาคีย์บอร์ดมาเคาะเบาๆ และจะเห็นเศษฝุ่นหล่นลงมาจำนวนมาก
-                   ห้อง Pantry ห้องเก็บอาหาร และอุปกรณ์สารพัดอย่างในที่ทำงาน ซึ่งเป็นห้องที่สมาชิกในที่ทำงานต่างมาใช้งาน จนอาจเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค อาหารหมักหมมในตู้เย็น เป็นแหล่งสะสมเชื้อรา และเชื้อโรคที่มองไม่เห็น และมักจะสัมผัสเป็นประจำ ดังนั้น จึงควรมีแม่บ้านมาทำความสะอาดอยู่เสมอ
-                   ห้องประชุม เป็นโต๊ะที่ใช้งานนานๆ ครั้ง แล้วมีคนนำอาหาร เครื่องดื่มเข้าไปรับประทาน นอกจากนั้นยังมีรีโมทโปรเจคเตอร์-ทีวี ที่ไม่มีใครใส่ใจใน ทำให้ห้องประชุมเป็นแหล่งสะสมเชื้อจุลินทรีย์ได้ง่ายอีกห้องหนึ่ง
-                   ห้องน้ำ ไม่ว่าจะเป็น อ่างล้างมือ ลูกบิดอ่างล้างมือ โถปัสสาวะ โถส้วม สายชำระความสะอาด  เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคเป็นอย่างดี เนื่องจากเชื้อโรคสามารถเจริญเติบโตได้ดีในที่ที่มีความชื้นเหมาะแก่การเจริญเติบโต และมักจะถูกมองข้ามไปในการเช็ดทำความสะอาด
-                   พื้นที่ปูด้วยพรม และเก้าอี้สำนักงาน เป็นแหล่งสะสมของไรฝุ่น ซึ่งก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ นอกจากนั้นความอุ่นและชื้นของพรม ยังเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคได้เป็นอย่างดี เมื่อหย่อนตัวนั่งลงบนเก้าอี้ ไรฝุ่นเหล่านี้ก็จะฟุ้งกระจายออกมาโดยที่เรามองไม่เห็น อาจส่งผลให้ผู้ที่แพ้ง่าย หรือเป็นภูมิแพ้เกิดอาการแพ้ หรือคันตามผิวหนังได้
-                   แก้วกาแฟ แก้วกาแฟที่รับประทานกาแฟหมดแล้ว และได้รับการทำความสะอาด ผึ่งให้แห้ง คงไม่ใช่แหล่งเพาะเชื้อโรค แต่ในทางตรงกันข้าม แก้วกาแฟที่ไม่ได้รับการทำความสะอาด ถูกทิ้งไว้  บางคนอาจทิ้งไว้ค้างคืน กลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อรา และแบตทีเรีย เมื่อมีการนำถ้วยกาแฟไปใช้ในคราวต่อไป จึงอาจส่งผลให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษได้
การดูแลรักษาความสะอาดในห้องทำงาน ตามหลัก 5 ส.
ส 1 สะสาง
ทำไมต้องสะสาง?
1.  ที่ทำงานคับแคบลง (ทุกวัน) รวมทั้งมีของที่วางเกะกะมากขึ้น
2. ไม่มีที่จะเก็บของ หรือตู้เก็บของไม่พอ
3 .หาเอกสารหรือของใช้ที่จำเป็นไม่พบ
4.  เสียเวลาค้นหาเอกสารหรือของใช้ (ครั้งละหลายนาทีหรือมากกว่า
5.  เครื่องมือเครื่องใช้ หรือวัสดุอุปกรณ์เกิดความสูญเสีย หรือเสียหายบ่อยหรือเสื่อมสภาพ
6.  ตรวจสอบเอกสารหรือวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ยาก
7ของหายบ่อย ของที่ควรจะอยู่ในที่หนึ่งกลับไปอยู่ที่หนึ่ง ฯลฯ

การเริ่มต้นสะสาง
1. การกำหนดว่าสิ่งของอะไรบ้างที่จำเป็นต้องทำการสะสาง และแจ้งรายละเอียด ให้ทุกคนทราบ
2. แยกของที่ จำเป็นและสิ่งของที่ ไม่จำเป็นออกจากกัน
3. ขจัดสิ่งของที่ จำเป็นหรือของที่มีมากเกินความจำเป็นออกแล้วทิ้งหรือทำลาย
จุดที่ควรสะสาง
1. บนโต๊ะทำงานและลิ้นชักโต๊ะทำงานของแต่ละคน
2. ตู้เก็บเอกสาร/ ตู้เก็บของ/ชั้นวางของ
3. บริเวณรอบโต๊ะทำงาน
4. ห้องเก็บของ
5. มุมอับต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกที่ทำงาน
6. พื้นของสถานที่ทำงานรวมทั้งเพดาน
7. บอร์ด ประกาศ คำสั่ง ระเบียบ
ประโยชน์ที่ได้รับจากสะสาง
1. ขจัดความสิ้นเปลืองของการใช้พื้นที่ กล่าวคือ มีพื้นที่ว่างจากการขจัดสิ่งของที่ไม่จำเป็นหรือวางไว้เกะกะออกไป
2. ขจัดความสิ้นเปลืองทรัพยากร วัสดุ อุปกรณ์เครื่องใช้
3. ลดปริมาณการเก็บ/สำรองวัสดุสิ่งของ
4. ลดการเก็บเอกสารซ้ำซ้อน
5. เหลือเนื้อที่ของห้องทำงาน ตู้ หรือชั้นเก็บเอกสารไว้ใช้ประโยชน์มากขึ้น
6. ลดเวลาการค้นหาเอกสาร
7. สถานที่ทำงานดูกว้างขวาง โปร่ง / สะอาดตายิ่งขึ้น
8. ลดข้อผิดพลาดจากการทำงาน

ส 2 สะดวก
หลักการสะดวก
1.วางของที่ใช้งานให้เป็นที่ทาง/มีป้ายบอก
2.นำของไปใช้งานแล้วนำมาเก็บไว้ที่เดิม
3. วางของที่ใช้งานบ่อยไว้ใกล้ตัว
4. จัดของที่ใช้งานให้เป็นหมวดหมู่
รายละเอียดการดำเนินการในแต่ละขั้นตอน มีดังนี้
1.             การกำหนดที่วางของในสำนักงาน ตู้เก็บเอกสาร ชั้นวางของ โต๊ะทำงาน เครื่องถ่ายเอกสาร โต๊ะวางคอมพิวเตอร์ โต๊ะพิมพ์ดีด ควรจัดทำผังห้องทำงานและตำแหน่งของอุปกรณ์ต่าง ๆ ดังกล่าวไว้เพื่อให้ทราบทั่วไป (หลังจากมีการปรึกษาหารือร่วมกันแล้ว) ต่อจากนั้นควรศึกษาเทคนิคในการวางของและเลือกใช้ให้เหมาะสม เช่น
2.             การจัดแยกของใช้ตามหน้าที่ในการใช้งานและนำมาวางไว้ในที่กำหนดไว้ (ตามผัง)
3.             ควรวางสิ่งของที่จำเป็นต้องใช้บ่อย ๆ ไว้ให้ใกล้มือ ส่วนของที่ไม่ใช้บ่อย หรือนาน ๆใช้ให้วางแยกไว้ต่างหาก
4.             การวางของที่มีรูปทรงสูงให้วางไว้ด้านใน (ของตู้ / ชั้นเก็บของ) ส่วนของที่มีรูปทรงต่ำกว่าให้วางไว้ด้านนอก
5.             การวางของหนัก ควรวางไว้ข้างล่าง (ของตู้/ชั้นเก็บของ) ส่วนของที่เบาให้วางไว้ข้างใน
6.             สำหรับของที่ใช้บ่อยครั้งวางไว้ในระดับความสูงเท่ากับช่วงตัว


ประโยชน์ที่ได้รับจากสะดวก
1. ลดเวลาการหยิบของมาใช้งาน โดยไม่ต้องเสียเวลาค้นหา
2. ลดเวลาการทำงานในภาพรวม ทั้งนี้ หากงานดังกล่าวสะดวกเป็นงานเกี่ยวกับการใช้บริการประชาชนก็จะทำให้ประชาชนได้รับบริการ ที่รวดเร็วขึ้น
3. ตรวจสอบสิ่งของต่าง ๆ ง่ายขึ้น ดูงามตา
4. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ถ้าหากทำงานในแต่ละเรื่อง / แต่ละชิ้น เสร็จเร็วขึ้น ก็จะมีเวลาทำงานอื่น ๆ ได้เพิ่มมากขึ้น
5. เพิ่มคุณภาพของผลผลิต/ผลงาน ทั้งนี้จากการที่ผู้ปฏิบัติงานมีเวลาตรวจสอบคุณภาพ ของงานที่จะส่งมอบให้ประชาชนผู้รับบริการ ให้มีความถูกต้องสมบูรณ์ครบถ้วนมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดภาพลักษณ์ ที่ดีต่อหน่วยงานด้วย
6. ขจัดอุบัติเหตุทำให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับความปลอดภัยในการทำงานยิ่งขึ้น
7. เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงาน ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพกาย และใจทั้งของผู้ปฏิบัติงานและประชาชนผู้รับบริการ

ส 3 สะอาด
ทำไมต้องทำกิจกรรมสะอาด?
1. สภาพแวดล้อมหรือบรรยากาศในการทำงานไม่สดชื่น แจ่มใส
2. เครื่องมือ/เครื่องใช้หรือวัสดุอุปกรณ์ในการทำงานเสื่อมสภาพ หรือเสียบ่อยใช้งานไม่สะดวก
3. ค้นหาสาเหตุที่อาจก่อให้เกิดความสกปรกเลอะเทอะ หรือเกิดเศษขยะต่างๆ เพื่อหาทางขจัดสาเหตุของปัญหา และวางแผนดำเนินการแก้ไข
4. ปัด กวาด เช็ดถู ให้ทั่วถึงไม่เว้นแม้กระทั่งจุดเล็ก ขอบหรือมุมอับต่าง ๆ
5. ทำร่วมกันทั้งหน่วยงาน “BIG CLEANING DAY” อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
จุดที่ควรทำความสะอาด
1. ตามพื้น ฝาผนัง บริเวณมุมอับต่าง ๆ
2. บนและใต้โต๊ะทำงาน ชั้นวางของ ตู้เอกสาร (ทั้งภายในและภายนอกตู้)
3. บริเวณเครื่องมือ/อุปกรณ์ และที่ตัวเครื่องมือ/อุปกรณ์ เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องพิมพ์เครื่องทำสำเนา ฯลฯ
4. เพดานห้อง และมุมเพดาน
5. หลอดไฟ และฝาครอบหลอดไฟ
ประโยชน์ที่ได้รับจากกิจกรรมสะอาด
1. สภาพ/บรรยากาศการทำงานสดชื่น น่าทำงาน/น่าอยู่
2. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องมือ เครื่องใช้ วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ
3. ช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องมือ เครื่องใช้วัสดุอุปกรณ์ให้ยาวนานยิ่งขึ้นลดอัตราของเสีย (ที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของอุปกรณ์ อาทิ กระดาษ กรณีเครื่องถ่ายเอกสารถ่ายได้ไม่ชัด)
ทั้งนี้สิ่งสำคัญในการรณรงค์ให้ทุกคนรักษาความสะอาดก็คือ หัวหน้าต้องลงมือทำเอง
ส 4 สุขลักษณะ
ปฏิบัติ 3 ส คือ สะสาง สะดวก สะอาด อย่างต่อเนื่องและปรับปรุงให้ดีขึ้น
ขั้นตอนการทำสุขลักษณะ
1. กำหนดให้มีการปฏิบัติกิจกรรมโดยเฉพาะ สะสาง สะดวก สะอาด อย่างต่อเนื่อง เช่น สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ตามความเหมาะสมของหน่วยงาน
2. กำหนดมาตรฐาน หรือ แนวทางในการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับ 3 ส แรก อย่างชัดเจน และเป็นที่ยอมรับของสมาชิกในพื้นที่การกำหนดมาตรฐานของพื้นที่โดยทั่วไปมักให้กลุ่มสมาชิกในพื้นที่เป็นผู้กำหนดในช่วงเริ่มต้นทำกิจกรรม เพื่อให้สามารถปฏิบัติได้ง่าย และได้รับความร่วมมือจากสมาชิกในพื้นที่
3. แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามผลการดำเนินกิจกรรม 5 ส เพื่อให้เกิดการรักษามาตรฐานต่อเนื่อง
ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำสุขลักษณะ
1. สถานที่ทำงานเป็นระเบียบเรียบร้อย สดชื่น น่าทำงาน
2. ผู้ปฏิบัติงานมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์
3. ผู้ปฏิบัติงานเกิดความภาคภูมิใจในหน่วยงาน
4. ผู้ปฏิบัติงานเข้าใจวิธีการปฏิบัติ (สุขลักษณะ) อย่างมีมาตรฐาน
5. ประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้น

ส 5 สร้างนิสัย
สร้างนิสัย เป็นกิจกรรมที่สำคัญที่สุดของกิจกรรม 5 ส เนื่องจากกิจกรรม 5 ส ในภาพรวมจะประสบ
ความสำเร็จหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับคนที่เป็นผู้นำกิจกรรมนี้มาดำเนินการโดยทำ 4 ส อย่างต่อเนื่องเป็นปกติจนกลายเป็นนิสัย
หลักการสร้างนิสัย
1. ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กล่าวมาแล้วทั้ง 4 ส ให้ดีตลอดไป
2. ให้ความรู้เพิ่มเติมในด้านต่าง ๆ
3. กระตุ้นให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามมาตรฐานและระเบียบของหน่วยงาน ในเรื่องราวต่าง ๆ อย่างเคร่งครัด
4. กำหนดวันทำกิจกรรม 5 ส เป็นประจำทุกวัน อาทิ 5 นาที กับ 5 สหรือเป็นประจำทุกสัปดาห์เช่น วันทำความสะอาดประจำสัปดาห์
5. ผู้บริหารต้องคอยกระตุ้นและติดตามการปฏิบัติเสมอ โดยถือว่าการทำกิจกรรม 5 ส เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงานปกติประจำ
6. จัดกิจกรรมส่งเสริม เช่น การประกวดพื้นที่และมอบรางวัล เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจต่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม
ประโยชน์ของการทำกิจกรรม 5 ส ในภาพรวม
สามารถแยกพิจารณา ได้ 2 ส่วน ดังนี้
ประโยชน์ของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน
1. สามารถทำงานได้อย่างสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น
2. บรรยากาศการทำงานและสถานที่ทำงานดีขึ้น
3. มีสภาพจิตใจแจ่มใส อารมณ์ดี และขวัญกำลังใจดี
4. มีความปลอดภัยในการทำงาน
5. มีส่วนร่วมในการปรับปรุงงานและสถานที่ทำงาน
6. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
7. สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเอง
8. มีสถานที่ทำงานที่เป็นระเบียบเรียบร้อย
ประโยชน์ของหน่วยงาน
1.             เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและสร้างผลงาน
2.             ลดการสูญเสียและความสิ้นเปลือง
3.             มีพื้นที่และเนื้อที่ใช้งานมากขึ้น
4.             ผู้รับบริการให้ความเชื่อถือและเชื่อมั่นมากยิ่งขึ้น

5.             เปิดโอกาสให้สามารถนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาช่วยในการปฏิบัติงานได้ง่ายขึ้น

กิจกรรม 5 ส. ในที่พักอาศัย

กิจกรรม 5 ส. ในที่พักอาศัย
1.            ห้องนอน
เป็นห้องที่สำคัญห้องหนึ่งในบ้าน เนื่องจากเป็นสถานที่นอนหลับพักผ่อน เพื่อให้ร่างกายเสริมสร้างส่วนที่สึกหรอ ดังนั้น ห้องนอน เครื่องนอนที่สะอาดย่อมส่งผลต่อสุขภาพของผู้นอนโดยตรง ดังนั้นการรักษาความสะอาดห้องนอน จึงควรกระทำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อมิให้กลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค โดยสามารถนำกิจกรรม 5 ส. มาใช้ดังนี้
การสะสางเครื่องนอนมาทำความสะอาด โดย
-                   นำปลอกหมอน, ผ้าปูที่นอน, ปลอกหมอนข้าง, ผ้าห่ม และผ้าคลุมเตียงไปซัก
-                   ปลดผ้าม่านในห้องนอนออกมาซักทำความสะอาด หากซักไม่ได้ ให้นำไปตากแดดจัด
-                   นำหมอนออกไปตบและตากแดดจัด
-                   เก็บผ้าเช็ดเท้าทุกผืนไปซักให้สะอาด
-                   ทำความสะอาดมู่ลี่ด้วยผ้าชุบน้ำ โดยรูดปิดม่านก่อน จากนั้นใช้ผ้าชุบน้ำถูตั้งแต่ด้านบนลงมาด้านล่าง
-                   คลุมฟูกนอนด้วยผ้าคลุมเตียงผืนใหม่ เพื่อป้องกันไรฝุ่นในขณะที่ปัดกวาดเช็ดถูห้องนอน
-                   เตรียมน้ำอุ่น, ผ้าขนหนู, ผ้าไมโครไฟเบอร์, ไม้ขนไก่, ไม้ปัดหยากไย่, ไม้กวาด, ม็อบถูพื้น, เครื่องดูดฝุ่น และอุปกรณ์ทำความสะอาดอื่น ๆ ให้พร้อมลุย
-                   กวาดหยากไย่
-                   ปัดฝุ่นโดยไล่ตั้งแต่ชั้นบนลงมาชั้นล่าง อย่าลืมหลังตู้ต่าง ๆ ด้วยนะคะ
-                   ปัด กวาด เช็ด ถู ฝุ่นหยากไย่ให้หมดจด
-                   ถอดผ้าคลุมเตียงออกไปซัก แล้วเปลี่ยนผ้าผืนใหม่อีกครั้ง
-                   ขนเสื้อผ้าออกจากตู้เสื้อผ้า รวมทั้งของในลิ้นชัก และชั้นวางของ ออกมาวางบนเตียง
-                   ใช้ผ้าชุบน้ำทำความสะอาดตู้เสื้อผ้า, หลังตู้ ลิ้นชัก และชั้นวางของ จากด้านในถึงด้านนอก
-                   เช็ดทำความสะอาดของตกแต่งห้องนอน เช่น กรอบรูป, โคมไฟ,โต๊ะทำงาน, ชั้นวางหนังสือ, หนังสือ,​ นาฬิกา รวมไปถึงลูกบิดประตูและสวิตช์ไฟด้วยผ้าชุบน้ำ
-                   จัดเรียงของเข้าที่เดิม
-                   รวบรวมเอกสารที่วางเรียงรายเข้าแฟ้ม แยกหนังสือและแมกกาซีนเข้าชั้นหนังสือ
-                   จัดเสื้อผ้าเข้าตู้ หรือจะถือโอกาสคัดแยกเสื้อผ้าเหลือใช้ไว้บริจาคและขายต่อก็ได้
-                   หาที่เก็บเสื้อผ้านอกฤดูให้เรียบร้อย โดยอาจจะเก็บลงกล่องสอดไว้ใต้เตียงก็ได้
-                   รื้อชั้นวางทีวี ที่เก็บซีดี และดีวีดี ออกมาทำความสะอาด
-                   ทำความสะอาดชั้นวางทีวีและทีวี พร้อมจัดเก็บซีดีและดีวีดีเข้าที่เดิม

2.            ห้องครัว
เป็นห้องที่ใช้ประกอบอาหาร หากไม่มีการรักษาความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ เศษอาหารอาจตกค้าง เป็นแหล่งอาหารของสัตว์พาหะนำโรคอย่างหนู แมลงสาบ ห้องครัวที่สะอาด จึงส่งผลต่อสุขอนามัยของคนในบ้าน ซึ่งการนำกิจกรรม 5 ส. มาใช้ในการรักษาความสะอาดห้องครัว สามารถปฏิบัติได้ดังนี้
-                   ถอดหัวเตาออกมาทำความสะอาด ไม่ว่าจะเป็นเตาแก๊สหรือเตาไฟฟ้า ส่วนมากเตาจะสามารถถอดประกอบได้ โดยใช้น้ำล้างจานผสมน้ำอุ่นและฟองน้ำขัดทำความสะอาด แต่ในส่วนหัวเตาแนะนำให้ใช้ฟองน้ำชุบน้ำหมาดจนเกือบแห้งค่อย ๆ เช็ดเศษสกปรกที่ตกค้างอยู่ให้หมดไป
-                   ทำความสะอาดหน้าเตา หลังจากล้างส่วนเตาแล้วผึ่งให้แห้ง โดยใช้น้ำอุ่น, น้ำยาล้างจาน และฟองน้ำนุ่ม ๆ ในการทำความสะอาด หากมีคราบมันฝังแน่นมาก ควรใช้เบ๊กกิ้งโซดาผสมน้ำส้มสายชูมาช่วยหมักคราบก่อนเช็ดออกด้วยฟองน้ำหมาด
-                   จัดการปุ่มเปิดเตาปุ่มเปิดเตาที่เยิ้มไปด้วยคราบมัน ให้ถอดออกมาแล้วทำความสะอาดด้วยน้ำยาล้างจานหรือน้ำสบู่ผสมน้ำอุ่น โดยใช้น้ำยาล้างจานที่ไม่มีส่วนผสมของแอมโมเนีย เพื่อมิให้ปุ่มเตาแก๊สเกิดรอยด่างดำ
-                   ทำความสะอาดปล่องดูดควัน โดยใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นผสมน้ำยาล้างจานเช็ดทำความสะอาดทั้งภายในและภายนอกปล่องดูดควันให้หมดจด แล้วถอดฟิลเตอร์ปล่องดูดควันมาล้างด้วยน้ำยาล้างจานเดือนละ 1 ครั้ง
-                   ทำความสะอาดเตาอบ  โดยถอดตะแกรงออกมาแช่น้ำอุ่นผสมน้ำสบู่หรือน้ำยาล้างจานประมาณ 1-2 ชั่วโมง จากนั้นจึงใช้ฟองน้ำขัดทำความสะอาดตะแกรงก่อนนำไปผึ่งลมให้แห้ง แล้วผสมเกลือป่น ¼ ถ้วยตวง, เบ๊กกิ้งโซดา ¾ ถ้วยตวง และน้ำสะอาด ¼ ถ้วยตวง โดยก่อนป้ายสวนผสมที่เตรียมไว้ให้ทั่วเตาอบ ให้ใช้กระดาษฟอยล์หุ้มส่วนผังวงจรหรือส่วนที่ไม่ควรโดนน้ำให้มิดชิดก่อนจึงค่อยละเลงน้ำยาที่ผสมลงไป ทิ้งไว้ข้ามคืน วันรุ่งขึ้นจึงเช็ดคราบออกด้วยผ้าชุบน้ำบิดหมาด
-                   สะสางตู้เย็น  โดยถอดปลั๊กตู้เย็นเพื่อความปลอดภัยแล้วเริ่มเคลียร์พื้นที่ตู้เย็นให้โล่ง รวมทั้งถอดชิ้นส่วนที่ถอดได้ออกมาล้างด้วยน้ำยาล้างจาน แล้วผึ่งลมให้แห้ง จากนั้นผสมเบ๊กกิ้งโซดา 2 ช้อนโต๊ะ กับน้ำ ¼ ถ้วยตวง สำหรับใช้เป็นน้ำยาล้างตู้เย็น แล้วจัดการทำความสะอาดตู้เย็นด้วยฟองน้ำหรือผ้าขนหนูให้ทั่วทุกตารางนิ้ว ตามด้วยเช็ดคราบออกด้วยผ้าชุบน้ำ ก่อนเช็ดพื้นที่ให้แห้งอีกครั้ง แล้วนำชิ้นส่วนที่ถอดออกไปล้างกลับเข้าที่ตามเดิม
-                   ทยอยนำอาหารเข้าตู้เย็น  เมื่อคัดแยกอาหารเน่าเสียออกไปแล้ว ให้คุณทยอยเก็บอาหารที่เหลือเข้าตู้เย็น โดยก่อนแช่ควรใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดคราบสกปรกและกลิ่นไม่พึงประสงค์ที่เกาะติดอยู่ออกไปให้หมดจด พร้อมกันนั้นให้เทเบ๊กกิ้งโซดาใส่ถ้วยแล้วนำไปแช่ในตู้เย็นเพื่อดับกลิ่นไม่พึงประสงค์
-                   เช็ดช่องแช่แข็งให้สะอาด  แม้ช่องแช่แข็งจะมีอุณหภูมิติดลบ ดูเหมือนจะไม่มีความสกปรกเท่าไร ทว่าจุดอับกลับมีความสกปรกซ่อนอยู่ ฉะนั้นจึงควรทำความสะอาดด้วยการผสมน้ำ 1 ถ้วยตวง,​ น้ำยาล้างจาน 1 ช้อนชา และน้ำส้มสายชู 1 ช้อนชา ลงในขวดสเปรย์ เขย่าให้ส่วนผสมเข้ากัน แล้วนำไปฉีดให้ทั่วช่องแช่แข็ง ทิ้งไว้สักพักแล้วค่อยเช็ดด้วยผ้าชุบน้ำหมาด ๆ ให้หมดจด เพื่อขจัดสิ่งสกปรกและขจัดกลิ่นไม่พุงประสงค์
-                   สะสางตู้เก็บของ โดยสะสางอาหารแห้งในตู้เก็บของให้โล่ง คัดของหมดอายุและเหลือใช้ทิ้งไป จากนั้นใช้ผ้าชุบน้ำบิดหมาดทำความสะอาด ตามด้วยผ้าแห้งทันทีเพื่อป้องกันตู้เก็บของเป็นคราบน้ำ แล้วทยอยเก็บของเข้าตู้ดังเดิม
-                   ทำความสะอาดเคาน์เตอร์ครัว  โดยเช็ดให้สะอาดทุกครั้งหลังการใช้งาน สำหรับการขจัดคราบฝังแน่นนั้น ควรใช้น้ำยาทำความสะอาดสำหรับห้องครัว โดยเลือกชนิดน้ำยาทำความสะอาดที่เหมาะสมกับพื้นผิวเคาน์เตอร์
-                   ขจัดคราบอ่างล้างจาน โดยผสมน้ำอุ่นจัดกับน้ำยาล้างจานแล้วใช้ฟองน้ำชุบทำความสะอาดให้ทั่วบริเวณอ่างล้างจาน และต้มน้ำผสมน้ำยาล้างจานพร้อมทั้งน้ำส้มสายชูเล็กน้อย รอจนน้ำเดือดจัดจึงนำไปเทลงท่อน้ำทิ้งของอ่างล้างจานทันที เพื่อกำจัดสิ่งอุดตันและคราบมันที่ตกค้าง
-                   ทำความสะอาดคราบน้ำด่างเป็นรอยบนก๊อกน้ำ  คราบน้ำสีขาวที่ปรากฏอยู่บนก๊อกน้ำสามารถกำจัดได้ง่าย ๆ ด้วยน้ำผสมน้ำส้มสายชูอย่างละครึ่ง จากนั้นนำผ้าขนหนูมาชุบก่อนนำไปเช็ดก๊อกน้ำให้ทั่ว แล้วเช็ดอีกครั้งด้วยผ้าชุบน้ำสะอาด
-                   ทำความสะอาดเครื่องครัว เครื่องครัว โดยสามารถทำความสะอาดตามวิธีในคู่มือการใช้งานของเครื่องครัวแต่ละชนิด ส่วนไมโครเวฟสามารถทำความสะอาดได้ง่าย ๆ ด้วยการบีบน้ำมะนาวผสมน้ำเปล่า นำไปอุ่นในไมโครเวฟด้วยอุณหภูมิสูงนาน 1 นาที จากนั้นใช้ฟองน้ำเช็ดคราบเปื้อนให้หมดจด
-                   ปัดกวาดเช็ดถู ตามหลัก “สะอาด” เมื่อสะสางองค์ประกอบอื่น ๆ ในห้องครัวเกือบครบแล้ว โดยให้ปัดฝุ่นทุกพื้นที่ เน้นตามมู่ลี่ จากนั้นจึงค่อยกวาดฝุ่นให้สะอาดหรือจะดูดฝุ่นแทนก็ได้  แล้วถูพื้นให้สะอาดด้วยไม้ม็อบ
-                   นำขยะใส่ถุงดำ ปิดปากให้สนิท แล้วนำไปทิ้ง

3.            ห้องน้ำ
ห้องน้ำเป็นอีกห้องหนึ่งที่มีความสำคัญ ในการชำระล้างร่างกาย ที่เปื้อนเหงื่อไคลมาตลอดทั้งวัน เนื่องจากห้องน้ำเป็นห้องที่มีความชื้นสูง จึงอาจเป็นแหล่งสะสมของเชื้อราได้ง่าย นอกจากนั้นพื้นห้องน้ำที่ไม่ได้รับการทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ อาจมีความลื่น ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ลื่นล้มได้ ซึ่งการนำกิจกรรม 5 ส. มาใช้ในการดูแลรักษาความสะอาดของห้องน้ำ สามารถปฏิบัติได้ดังนี้
-                   ซักผ้าเช็ดเท้าตามหลัก “สะอาด” ผ้าเช็ดเท้าที่วางอยู่หน้าห้องน้ำ รวมทั้งผ้าเช็ดมือ และผ้าม่านที่ประดับอยู่ เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคและฝุ่นไรจำนวนไม่น้อย ดังนั้นก่อนจัดการล้างห้องน้ำ ควรปลดม่าน ผ้าเช็ดมือ และนำผ้าเช็ดเท้าไปซักทำความสะอาดให้เรียบร้อย
-                   ย้ายของทุกอย่างออกจากห้องน้ำ ตามหลัก “สะสาง” โดยย้ายของทุกอย่างออกจากห้องน้ำให้หมด ทั้งผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดร่างกายและของตกแต่งกระจุกกระจิก รวมไปถึงการตกแต่งบางอย่างที่สามารถถอดออกมาทำความสะอาดได้
-                   ทำความสะอาดโถสุขภัณฑ์ โดยใช้น้ำยาทำความสะอาด ราดลงบนโถสุขภัณฑ์ให้ทั่ว แต่หากไม่ต้องการใช้สารเคมีอันตราย ให้ผสมผงฟู 1 ช้อนโต๊ะ กับน้ำส้มสายชูและน้ำเปล่าในอัตราส่วน 75/25 –ทำความสะอาดฝ้าเพดาน ตามหลัก “สะอาด” โดยปัดหยากไย่จากบนเพดาน ไล่ลงมาด้านล่าง
-                   ทำความสะอาดกระจก โดยเช็ดกระจกด้วยน้ำยาเช็ดกระจกกับกระดาษหนังสือพิมพ์ ถูส่วนผนังด้วยแปรงขัด แต่หากเป็นผนังที่ติดวอลเปเปอร์ ให้หุ้มแปรงขัดด้วยผ้าชุบน้ำผืนหนา แล้วเช็ดถูผนังให้สะอาด สำหรับคราบหนักควรใช้น้ำยาทำความสะอาดร่วมด้วย
-                   ทำความสะอาดเคาน์เตอร์ โดยผสมน้ำสบู่กับน้ำอุ่นแล้วใช้แปรงสีฟันอันเก่าขัดตามซอกกระเบื้องบนเคาน์เตอร์อ่างล้างหน้า รวมทั้งพื้นที่แคบตรงอ่างล้างหน้าและก๊อกน้ำด้วย แต่หากคราบสกปรกฝังแน่นอาจต้องใช้เบกกิ้งโซดาผสมกับน้ำส้มสายชูให้พอเป็นเนื้อข้นเหนียว ป้ายคราบสกปรกทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที จากนั้นจึงใช้แปรงสีฟันขัดอีกครั้ง แต่สำหรับพื้นที่ของอ่างล้างหน้าและกระเบื้องเคาน์เตอร์ สามารถใช้น้ำยาทำความสะอาดและฟองน้ำขัดถูได้
-                   ทำความสะอาดด้านนอกโถสุขภัณฑ์ เริ่มจากการฉีดน้ำยาฆ่าเชื้อหรือน้ำยาขจัดคราบอเนกประสงค์ลงไปให้ทั่วบริเวณด้านนอกโถสุขภัณฑ์ แล้วใช้ฟองน้ำบิดหมาดถูทำความสะอาดโดยรอบ แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด
-                   ขัดโถสุขภัณฑ์ โดยใช้แปรงขัดด้ามยาวแบบปกติขัดถูด้านในโถชักโครกที่เทน้ำยาทำความสะอาดเอาไว้ในขั้นตอนแรก แล้วล้างน้ำให้สะอาด
-                   ทำความสะอาดพื้นห้องน้ำ โดยเทน้ำยาทิ้งไว้ประมาณ 10 นาทีก่อนขัด หรือหากใช้น้ำยาฆ่าเชื้อล้างห้องน้ำ ควรราดน้ำยาทิ้งไว้อย่างน้อย 30 นาทีก่อนลงมือทำความสะอาด ส่วนในร่องกระเบื้องที่สะสมคราบสกปรกไว้มาก ควรใช้แปรงสีฟันด้ามเก่าจุ่มน้ำยาฟอกขาว แล้วนำมาขัดทำความสะอาดพื้น
-                   เก็บของที่ไม่ได้ใช้ทิ้งไป ตามหลัก “สะสาง”

หลังจากทำความสะอาดพื้นห้องน้ำแล้ว ควรใช้ม็อบหรือฟองน้ำซับน้ำออกอีกครั้ง พร้อมทั้งเปิดพัดลมดูดอากาศไว้เพื่อป้องกันความชื้น จากนั้นจึงมาคัดแยกสิ่งของที่ย้ายออกมาจากห้องน้ำต่อ โดยเลือกแต่เฉพาะของที่ยังใช้งานอยู่ไปล้างน้ำให้สะอาด แล้วเก็บเข้าที่ ส่วนแปรงสีฟันอันเก่า หลอดโฟมล้างหน้าที่ใช้หมดแล้ว ก็แยกนำไปทิ้งถังขยะ